ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

แนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ฯ by กรชนก แก่นคำ

ชื่อผลงาน : แนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา

 ผู้ถ่ายทอด : กรชนก แก่นคำ  ถ่ายทอด : วันที่ 12 กันยายน 2565
   

1.บทนำ

          ห้องปฏิบัติการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีภาระกิจหลักในการสนับสนุนการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ทั้งระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา และสนับสนุนการปฏิบัติงานของนักวิจัยภายในคณะเภสัชศาสตร์ ทั้งนี้ห้องปฏิบัติการ คณะเภสัชศาสตร์         มีนโยบายในการพัฒนาให้มีมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติ รวมถึงการจัดการระบบการบำรุงรักษาและดูแลเครื่องมือวิทยาศาสตร์ให้พร้อมใช้งานอย่างสม่ำเสมอ

ห้องปฏิบัติการ คณะเภสัชศาสตร์ มีห้องปฏิบัติการทั้งหมด 4 ชั้น ใช้งบประมาณซ่อมแซมเครื่องมือวิทยาศาสตร์เฉลี่ย 400,000 บาทต่อปี  จากการรวบรวมข้อมูลภายในห้องปฏิบัติการชั้น 2 พบว่าห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา ใช้งบประมาณในการซ่อมแซม 12,000.00 บาทต่อปี จากการรวบรวมสาเหตุการชำรุดของเครื่องมือพบว่ามี 2 สาเหตุ คือชำรุดจากการเสื่อมสภาพของเครื่องมือตามอายุการใช้งานและชำรุดจากการใช้งานของผู้รับบริการอย่างไม่ถูกวิธี เพื่อยืดอายุการใช้งานเครื่องมือวิทยาศาสตร์และช่วยลดงบประมาณในการซ่อมแซมเครื่องมือในภาพรวม ดังนั้นการสื่อสารให้ผู้รับบริการใช้งานเครื่องมืออย่างถูกวิธี ทราบวิธีการดูแลรักษาเครื่องมือในเบื้องต้น ตลอดจนทราบข้อควรระวังในการป้องกันปัญหาจากการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่มีอายุการใช้งานนาน จะช่วยให้ลดความเสี่ยงการชำรุดของเครื่องมือได้ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการชั้น 2จึงได้พัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาการใช้เครื่องมือห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา ซึ่งเป็นห้องที่มีการให้บริการแก่นักศึกษาและนักวิจัย โดยรวบรวมปัญหาของเครื่องมือในห้องและพัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาการใช้เครื่องมือที่พบบ่อย  โดยมุ่งหวังให้ยืดอายุการใช้งานเครื่องมือวิทยาศาสตร์และช่วยลดงบประมาณในการซ่อมแซมเครื่องมือวิทยาศาสตร์ จึงจัดทำวิดิทัศน์แบบย่อแสดงแนวทางการแก้ปัญหาการใช้เครื่องมือในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาที่มีอัตราการใช้งานสูง จำนวน 3 เครื่อง ได้แก่ ตู้เพาะและถ่ายเชื้อ (Laminar air flow) ตู้บ่มควบคุมอุณหภูมิ (Incubator) และห้องควบคุมความเย็น (Cool room) พร้อมจัดทำ QR code ติดบริเวณด้านหน้าเครื่องมือ เพื่อให้ผู้รับบริการสแกน QR codeศึกษาวิดิทัศน์แนวทางการแก้ปัญหาการใช้เครื่องมือได้โดยตรง ช่วยให้ผู้รับบริการสามารถศึกษาด้วยตัวเอง ปฏิบัติงานได้ด้วยความรวดเร็ว ลดเวลาในการรอรับบริการจากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ สามารถแก้ปัญหาการใช้เครื่องมือได้ด้วยตนเอง และได้จัดทำแบบสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการหลังจากศึกษาวิดิทัศน์เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงการทำงานต่อไป

2. วัตถุประสงค์

        2.1 เพื่อรักษา คงสภาพ และยืดอายุการใช้งานเครื่องมือวิทยาศาสตร์และช่วยลดงบประมาณในการซ่อมแซมเครื่องมือของห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่เกิดจากสาเหตุการใช้งานของผู้รับบริการให้เป็นศูนย์

        2.2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการหลังการศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการใช้เครื่องมือในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

3. วิธีการดำเนินงาน

  เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการชั้น 2 ระดมสมองรวบรวมปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้เครื่องมือในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา หลังจากนั้นกำหนดรูปแบบการสื่อสารกับผู้รับบริการเพื่อแสดง    แนวทางการแก้ปัญหาการใช้เครื่องมือให้ทันสมัยและชัดเจน โดยกำหนดรูปแบบเป็นวิดิทัศน์แบบสั้น        มีเนื้อหากระชับและเข้าใจง่าย เมื่อมีการดำเนินการถ่ายทำและจัดทำวิดิทัศน์แล้วจึงสร้าง QR code ของ   วิดิทัศน์ ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานแก่ผู้รับบริการ 3 รูปแบบ คือ ส่งอีเมล์แจ้งนักศึกษา-นักวิจัย และผู้ที่เกี่ยวข้อง ติดหน้าตู้เครื่องมือเพื่อให้สะดวกต่อการเข้าถึงข้อมูลได้ติดที่หน้าเครื่องมือ และประชาสัมพันธ์ผ่าน Lineกลุ่มสารนิพนธ์และ Lineกลุ่มผู้ช่วยวิจัย

เครื่องมือที่มีการจัดทำวิดิทัศน์สื่อสารแนวทางการแก้ปัญหาการใช้เครื่องมือมีจำนวนทั้งหมด 3เครื่อง ประกอบด้วย ตู้เพาะและถ่ายเชื้อ (Laminar air flow) ตู้บ่มควบคุมอุณหภูมิ (Incubator) และห้องควบคุมอุณหภูมิ (Cool room) เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาวิดิทัศน์ในเครื่องมืออื่น ๆ ผู้วิจัยได้จัดทำแบบสอบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการโดยจัดทำแบบประเมินด้วย google form และ สร้าง QR codeเพื่อให้ผู้รับริการกรอกข้อมูลผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ และมีระบบแจ้งเตือนผู้วิจัยเมื่อมีผู้รับบริการตอบแบบประเมินผ่านระบบ Line ในทันทีที่มีการส่งแบบประเมิน เมื่อได้ผลการประเมิน จึงนำผลการประเมินมาวิเคราะห์ สรุปผลเพื่อการพัฒนา ปรับปรุง วิธีการดำเนินงานแนวทางการแก้ปัญหาการใช้เครื่องมือในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา แสดงดังรูปที่ 1

     

      รูปที่ 1 วิธีการดำเนินงานแนวทางการแก้ปัญหาการใช้เครื่องมือในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา

4. ผลการดำเนินงาน

          4.1 ผลการวบรวมเครื่องมือที่มีปัญหาการใช้เครื่องมือในห้องปฏิบัติการชั้น 2

                    พบว่าเครื่องมือที่มีปัญหามีจำนวน 9 เครื่องมือ ได้วางแผนการพัฒนาออกเป็น 3 ระยะคือ

          ระยะที่ 1 พัฒนาแนวทางการแก้ปัญหา ตู้เพาะและถ่ายเชื้อ (Laminar air flow) ตู้บ่มควบคุมอุณหภูมิ (Incubator) และห้องควบคุมอุณหภูมิ (Cool room) ห้วงเวลา ก.ย. 2564- ส.ค. 2565

          ระยะที่ 2 พัฒนาแนวทางการแก้ปัญหา หม้อนึ่งความดันสูง (Autoclave Rexmed) หม้อนึ่งความดันสูง (Autoclave Tomy) และกล้องจุลทรรศน์ (Microscope) ห้วงเวลา ก.ย. 2565  - ส.ค. 2565

          ระยะที่ 3 พัฒนาแนวทางการแก้ปัญหา ตู้เพาะและถ่ายเชื้อ (Laminar air flow) เครื่องชั่ง (Electric balance) ตู้อบ (Hot air oven) ห้วงเวลา ก.ย. 2566  - ส.ค. 2567

รายละเอียดเครื่องมือที่จะแก้ปัญหาในระยะที่ 1 แสดงในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 เครื่องมือที่แก้ปัญหาในระยะที่ 1

     4.2 การคงงบประมาณการซ่อมแซมเครื่องมือในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาเป็นศูนย์

     จากการรวบรวมข้อมูลงบประมาณการซ่อมแซมเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ปี 2561-2565 พบว่าห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา ใช้งบประมาณการซ่อมแซมเครื่องมือจากสาเหตุเครื่องมือชำรุดตามอายุ       การใช้งาน ในปี 2563และ 2565จำนวน 33,000, 13,700บาท ตามลำดับและใช้งบประมาณการซ่อมแซมเครื่องมือจากสาเหตุการใช้งานของผู้รับบริการ ในปี 2563 จำนวน 4,500 บาท และใน ปี 2561 2562 และ 2564  ไม่มีการใช้งบประมาณการซ่อมแซมเครื่องมือแสดงในตารางที่ 2

ตารางที่ 2 งบประมาณการซ่อมเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์

เมื่อ :      1. สาเหตุชำรุด 1*  = การชำรุดจากการเสื่อมสภาพตามอายุการใช้ 

             2. สาเหตุชำรุด 2** = การชำรุดจากการใช้งานของผู้รับบริการ

 

4.3 ผลการสแกนเข้าศึกษาวิดิทัศน์ที่ผลิตขึ้นของผู้รับบริการ

จาการผลิตวีดิทัศน์แก้ไขปัญหาการใช้เครื่องมือวันที่ 1 ธันวาคม 2564ถึงวันที่ 17 สิงหาคม 2565 พบว่าวีดิทัศน์การแก้ไขปัญหาการเปิดหลอดไฟ UV ในตู้เพาะและถ่ายเชื้อ  การแก้ไขปัญหาการเปิดประตู ห้องควบคุมอุณหภูมิไม่ได้ และการเปิด-ปิดประตูตู้บ่มควบคุมอุณหภูมิ มีผู้สแกน QR code จำนวน 13, 11 และ 11 ครั้ง ตามลำดับ

               พบว่ามีผู้ตอบแบบประเมินประกอบด้วยผู้ช่วยวิจัย นักศึกษา อาจารย์และบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย จำนวน 18คน จำแนกเป็นเพศชาย 4คน (24.2%) เพศหญิง 14คน (77.8%)  ผู้รับบริการศึกษาวิดิทัศน์การแก้ไขปัญหาการเปิดหลอดไฟ UV ในตู้เพาะและถ่ายเชื้อ 7คน  (38.9%) การแก้ไขปัญหาการเปิดประตูห้องควบคุมอุณหภูมิไม่ได้ 6 คน (33.3 %) และการเปิด-ปิดประตูตู้บ่มควบคุมอุณหภูมิ 4 คน      (22.2%) ไม่ได้ศึกษา 1 คน (5.6%) แสดงรายละเอียดตารางที่ 3

ตารางที่ 3  ผลสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อวีดิทัศน์แก้ปัญหาการใช้งานเครื่องมือวิทยาศาสตร์

5. สรุปผลการดำเนินการ ผลการดำเนินการพบว่าห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา สามารถคงระดับงบประมาณการซ่อมเครื่องมือทางจุลชีววิทยาเป็นศูนย์ และผู้รับบริการพึงพอใจวีดิทัศน์ในระดับดีมากทั้งสามเครื่องมือ

 

6. ปัจจัยความสำเร็จ  การทำงานเป็นทีมและมีเป้าหมายการทำงานเป็นจุดเดียวกัน

 

7. กิตติกรรมประกาศ  ขอขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรีวัลย์ ดวงจิตต์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนา  และ ดร.ไพจิตร  ศรีธนานุวัฒน์ ที่กรุณาให้คำแนะนำในการดำเนินงาน

ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ